เมื่อ Gen Z & Y ครองแชมป์ผู้ใช้ ChatGPT: สิ่งที่ผู้บริหารต้องรู้และปรับตัว!!

"ในยุคที่ AI กำลังเปลี่ยนแปลงโลกการทำงาน การศึกษาพฤติกรรมการใช้ ChatGPT ของคนแต่ละรุ่นสะท้อนให้เห็นความท้าทายที่ผู้บริหารต้องเผชิญในการบริหารองค์กรยุคใหม่"

Who is really using ChatGPT?!

จากข้อมูลผู้ใช้งาน ChatGPT พบว่า Gen Y หรือ Millennials (25-34 ปี) และ Generation Z (18-24 ปี) เป็นเจนมีการใช้งาน ChatGPT มากที่สุด (Source: ChatGPT Statistics That Decode The Technological Marvel’s Evolution, Clickup.com. May 2024) โดยรวมกันแล้วมีสัดส่วนใหญ่ เกือบ 80% ของผู้ใช้ทั้งหมด:

  • ช่วงอายุ 18-24 ปี (Gen Z) มีสัดส่วน 28.29%

  • ช่วงอายุ 25-34 ปี (Gen Z + Gen Y) มีสัดส่วนสูงสุดที่ 33.11%

  • ช่วงอายุ 35-44 ปี (Gen Y) อีก 18.34%

ส่วนกลุ่มอายุที่มาก ก็ขึ้นมีสัดส่วนการใช้งานลดลงตามลำดับ:

  • ช่วงอายุ 45-54 ปี (Gen X) ประมาณ 11.16%

  • Baby Boomers (55-64 ปี) และผู้สูงอายุ (65+ ปี) มีการใช้งานน้อยที่สุด รวมกันประมาณ 9%

สรุปได้ว่า Millennials เป็น Generation ที่ใช้งาน ChatGPT มากที่สุด ตามด้วย Gen Z ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มีความคุ้นเคยและยอมรับเทคโนโลยี AI มากกว่าคนรุ่นก่อน

นี่ยังไม่รวมกลุ่มน้องๆ Alpha ที่ตามมาติดๆ และเริ่มใช้ Generative AI กันแล้ว (ChatGPT ให้สร้าง user account ได้ตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลยค่ะ เพราะหลายๆ โรงเรียนเปิดให้เด็กหาข้อมูลงานวิจัยได้ทั้งจาก Google และ ChatGPT แล้ว

แสดงว่า ตอนนี้มีเด็กรุ่นใหม่ ทั้งรุ่นที่โตมากับ Google แล้วเริ่มใช้ AI กับเด็นรุ่นใหม่ที่โตมาในยุคของ AI เลยจริงๆ

จากข้อมูลตรงนี้ สามารถสื่อและสะท้อนอะไรกลับมาที่ผู้บริหารองค์กรได้บ้าง?!

AiBC ช่วยสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารองค์กรควรตระหนักและนำไปปรับใช้ในการบริหารองค์กร ดังนี้:

  1. เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตการทำงาน: พนักงานรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยในการทำงาน การที่กลุ่ม กลุ่ม Gen Z และ Gen Y นิยมใช้ ChatGPT แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเปิดรับและพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและในชีวิตประจำวัน และมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

  2. การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น: องค์กรควรส่งเสริมการพัฒนาทักษะบุคลากร (Upskill/Reskill) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พร้อมจัดทำแผนพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิตัลหรือการใช้ AI ในการทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย โดยเน้นการสร้างความเข้าใจและลดช่องว่างระหว่างวัยในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนให้พนักงานรุ่นเก่า (Gen X, Baby Boomers) เรียนรู้และปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ไปพร้อมๆ กัน

  3. การบริหารความหลากหลายในองค์กร (Diversity Management): หรือการบริหารจัดการหลายเจเนอเรชัน ด้วยความที่แต่ละ Gen มีจุดแข็งและแนวทางการทำงานที่แตกต่างกัน ผู้บริหารควรตระหนักถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างเจเนอเรชัน ตั้งแต่การสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัย โดยใช้จุดแข็งของแต่ละ Generation

    • Gen Z/Millennials: นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาองค์กร

    • Gen X/Baby Boomers: ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงาน

4. การออกแบบกลยุทธ์หรือนโยบายการใช้ AI ในองค์กรที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและป้องกันความเสี่ยง: ผู้บริหารควรเตรียมแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และกำหนดนโยบายการใช้ AI ที่รัดกุมและปลอดภัย ร่วมไปกับการสร้างระบบการตรวจสอบและควบคุมการใช้ AI

สรุปคือ "ความท้าทายของผู้บริหารยุคใหม่ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่รวมถึงการสร้างสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการบริหารคนต่างวัย เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล" เพื่อนำพาองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างราบรื่น และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยการผสมผสานจุดแข็งของบุคลากรทุกช่วงวัยเข้าด้วยกันค่ะ

AI Bright Creators

Previous
Previous

AI Overview! ฟีเจอร์ใหม่บน Google Search

Next
Next

Reflect yourself with Generative AI 🧐